การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่)

                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) (โครงการฯ) ดังนี้

โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(ปรับปรุงใหม่)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่
20 ธันวาคม 2565
กค. เสนอขอทบทวนในครั้งนี้
1. คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ เป็นผู้ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อตามโครงการฯ หรือได้รับสินเชื่อตามโครงการฯ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาแล้วไม่เกิน 5 ปี (เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างทั่วถึง) ปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอรับสินเชื่อ โดยขยายความช่วยเหลือให้ผู้ที่เคยได้รับสินเชื่อของโครงการมาเกิน 5 ปี สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ (เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายเดิมที่เคยได้รับสินเชื่อมาแล้วเกิน 5 ปี)
2. วงเงินโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท ปรับปรุงวงเงินโครงการ โดยแบ่งเป็น
(1) วงเงิน 20,000 ล้านบาท สำหรับผู้ที่เคยได้รับสินเชื่อของโครงการฯ (ลูกหนี้รายเดิม) ที่สิ้นสุดระยะเวลาไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และมีความประสงค์ขอรับสินเชื่อตามโครงการฯ เพื่อเสริมสภาพคล่องและแบ่งเบาภาระในช่วงระหว่างวางแผนบริหารจัดการทางการเงินในการชำระคืนสินเชื่อ
(2) วงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อของโครงการฯ มาก่อน (ลูกหนี้รายใหม่)
ทั้งนี้ ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้ความสำคัญกับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อมาก่อนเป็นลำดับแรก และเพื่อให้การจัดสรรวงเงินโครงการฯ มีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ประกอบการ ภายหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) สามารถบริหารจัดการวงเงินโครงการฯ ได้ตามความเหมาะสม
หมายเหตุ : มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เป็นการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 (เรื่อง มาตรการด้านการเงินสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้) ซึ่งในครั้งนั้นไม่ได้กำหนดวงเงินกู้ต่อรายแต่กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแต่ละรายไม่เกิน 5 ปี (ครบกำหนดวันที่ 31 ธันวาคม 2565)
3. วงเงินกู้สูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 หรือจนกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ จะถูกจัดสรรหมด แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อนและ ธ.ออมสิน เบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 1. ปรับวงเงินกู้ต่อรายและขยายระยะชำระเงินกู้ ดังนี้
          (1) ผู้ประกอบการที่เคยได้รับสินเชื่อของโครงการฯ (ลูกหนี้รายเดิม)
          - กรณีผู้ที่เคยได้รับวงเงินกู้เกิน 20 ล้านบาท กู้ได้สูงสุดไม่เกินวงเงินที่เคยได้รับโดยต้องชำระเงินกู้ให้คงเหลือไม่เกิน 50 ล้านบาท (กรณีเป็นลูกหนี้รายเดิมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 อาจมีวงเงินกู้เงิน 20 ล้านบาท เนื่องจากในครั้งนั้นไม่ได้กำหนดวงเงินกู้ต่อราย) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และชำระเงินกู้ให้คงเหลือไม่เกิน 20 ล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หลังจากนั้นต้องชำระเงินกู้ส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568
          - กรณีผู้ที่เคยได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ล้านบาท กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท ระยะเวลาชำระเงินกู้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568
          (2) ผู้ประกอบการรายใหม่ (ลูกหนี้รายใหม่) ให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 20 ล้านบาท ระยะเวลาชำระเงินกู้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568 โดยให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ร่วมกับผู้ประกอบการจัดทำแผนการชำระหนี้และกำหนดหลักเกณฑ์การชำระคืนสินเชื่อ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถชำระคืนสินเชื่อให้แล้วเสร็จได้ตามระยะเวลาที่กำหนดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568
2. ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายสินเชื่อของ ธ.ออมสิน เดิม จากเดิม 30 มิถุนายน 2566 เป็น 31 ธันวาคม 2567
4. เงื่อนไขอื่น ๆ (1) ธ.ออมสิน กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการในการให้สินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการจัดทำข้อมูลรายละเอียดและวัตถุประสงค์การใช้วงเงินสินเชื่อของลูกหนี้ตามหลักเกณฑ์ตามที่ ธ.ออมสิน กำหนด เพื่อประกอบการเบิกจ่ายสินเชื่อกับ ธ.ออมสิน
(2) สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องสอบทานกระบวนการอนุมัติสินเชื่อและสุ่มสอบทานสินเชื่อรายลูกหนี้ในโครงการฯ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการฯ พร้อมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการสอบทานดังกล่าวเป็นการเฉพาะแยกจากธุรกรรมสินเชื่อประเภทอื่น ๆ เป็นประจำทุกไตรมาส และรวบรวมรายงานดังกล่าวไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการสอบทานสินเชื่อสำหรับการเข้าตรวจสอบสถาบันการเงินประจำปีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
                   โดย กค. แจ้งว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากไม่ได้ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นโดยยังอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณชดเชยเดิม รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไว้ (มติคณะรัฐมน
ตรีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565)
 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar