ประวัติ สวท.สุไหงโก-ลก
 
 
 
 

 สวท.สุไหงโก-ลก

     

วิสัยทัศน์ สวท.สุไหงโก-ลก

          เป็นสื่อหลักในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ตอบสนองยุคสังคมข่าวสาร และสังคมแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม เสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่และตามแนวชายแดน ตลอดถึงสนับสนุนการสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีทั้งองค์กรภาครัฐและภาคประชาชนตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย

พันธกิจ 

  ๑.  เผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ให้เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มในพื้นที่ และเผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่ ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างกว้างขวาง 

  ๒. เผยแพร่นโยบาย/ผลงานของรัฐบาล  และข่าวสารของทางราชการให้ประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่รับทราบ และสะท้อนปัญหาความต้องการของประชาชนไปยังรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ               

  ๓. สนับสนุนการสร้างความมั่นคงในพื้นที่ และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

  ๔. ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น และการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน

          รายการวิทยุในช่วงเวลา ๑๙ ชั่วโมงของทุกวัน จะมีการสอดแทรกความรู้และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล กรมประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค๔ส่วนหน้า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงกิจกรรมและภารกิจงานของภาครัฐและกลุ่มมวลชนในพื้นที่    


เริ่มก่อตั้ง สวท.สุไหงโก-ลก

          สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส  เดิมใช้ชื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  จังหวัดนราธิวาส  เริ่มก่อสร้างในปีงบประมาณ ๒๕๓๐ ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณหลังสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ในเนื้อที่ ๑๖.๔๙ ไร่ (กว้าง ๑๓๐ เมตร ยาว ๒๐๓  เมตร) พื้นที่เดิมก่อนการก่อสร้างเป็นพื้นที่พรุ มีน้ำขังตลอดปี มีราษฎรสร้างที่อยู่อาศัยและเป็นชุมชนแออัดประมาณ ๘๐ ครอบครัว การดำเนินการได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะนายอำเภอสุไหงโก-ลกในขณะนั้นคือ ดร.เจษฎา อุรพีพัฒนพงศ์ ได้ช่วยประสานขอความร่วมมือจากเทศบาลและพ่อค้าประชาชนร่วมกันสร้างทางลำลองเข้าสถานีฯ และอพยพราษฎรชุมชนแออัดออกไปอยู่ในพื้นที่ที่จัดหาให้ใหม่ พร้อมกันนั้น นายพิบูลย์ พงศ์ธเนศ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาสในขณะนั้น) ได้ดำเนินการถมที่ดินคิดเป็นเงินประมาณสองล้านบาท แต่ขอรับค่าตอบแทนเท่าที่สถานีฯ ได้รับเพียงสองแสนบาทเศษ หลังจากนั้นสำนักประชาสัมพันธ์เขต ๖ สงขลา  โดยมีนายชั้น พูลสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งได้รับงบประมาณจากกรมประชาสัมพันธ์  สำหรับดำเนินการจำนวน ๖,๗๑๙,๐๐๐ บาท ได้ก่อสร้างอาคารที่ทำการอาคารโรงเครื่องยนต์ และติดตั้งเครื่องส่งพร้อมอุปกรณ์การส่งกระจายเสียงระบบ เอฟ.เอ็ม. ความถี่ ๑๐๖.๕เมกะเฮิรตซ์   กำลังส่ง ๕ กิโลวัตต์ การก่อสร้างดำเนินการจนสำเร็จสมบูรณ์ตามโครงการ และได้เปิดทำการส่งกระจายเสียงตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๓๑ มีรัศมีการส่งกระจายเสียงครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัดนราธิวาส รวมถึงบางอำเภอจังหวัดปัตตานีและยะลา และรวมถึง ๓ รัฐในมาเลเซียคือ กลันตัน ตรังกานู และเปอร์ลิส  โดยมี นายอำนวย กลัดสวัสดิ์ เป็นนายสถานีฯ คนแรก
ทำการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ๑๐๖.๕ เมกะเฮิรตซ์ กำลังส่ง ๕ กิโลวัตต์ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ออกอากาศตั้งแต่เวลา  ๐๕.๐๐-๒๔.๐๐ น.วันละ  ๑๙   ชั่วโมง ขับเคลื่อนนโยบายสถานีด้วยวิสัยทัศน์ 

          สวท.สุไหงโก-ลกเป็นสื่อวิทยุหลักในการเผยแพร่ตอบสนองยุคสังคมข่าวสารและสังคมแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่และตามแนวชายแดนตลอดถึงสนับสนุนการสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีทั้งองค์กรภาครัฐและภาคประชาชนตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ภายใต้แนวคิด สื่อสร้างสรรค์ พหุวัฒนธรรม นำสู่สันติสุข

 

 ตรากรมประชาสัมพันธ์

      ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ "กรมโฆษณาการ” ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบตามวรรณคดีกล่าวไว้ว่า พระอินทร์เป่าสังข์ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่าง ๆ ในโลก อย่างไรก็ดี โดยที่สังข์ ตามลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นมงคล 3 คือ สังข์ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวทและตัวสังข์ มีรอยนิ้วพระหัตถ์ ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนา พราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย นอกจากนี้ พระในลัทธิชินโตก็ใช้สังข์เป่าในพิธีมงคลพวกชาวเกาะทะเลใต้ เป่าสังข์ บอกสัญญาณระหว่างกันปรากฏว่าได้ยินไปไกลไม่แพ้เป่าเขาควาย เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาเผยแพร่และอธิบายชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างกว้างขวางเป็นการสร้างความเข้าใจอันดี โดยมีวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และภาพยนตร์เป็นเครื่องช่วย จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์ของเทวดาในสมัยโบราณเพื่อบอก สัญญาณ และเรียกประชุม นั่นเอง

 

 สีกรมประชาสัมพันธ์

ใช้สีม่วง ซึ่งถือกันว่าเป็นสีของงานสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์

 

Link banner

 

Copy code นี้ไปลงในเว็บไซต์ของท่าน

 <a href="http://www.prd.go.th" target="_blank"><img src="http://www.prd.go.th/images/prd_banner01.jpg" border="0" alt="กรมประชาสัมพันธ์"

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar